บูรณาการกับวิชาอื่นๆ


   
คำว่าบูรณาการ ตามพจนานุกรมไทย กล่าวว่า คือ การนำหน่วยที่แยกๆกัน มารวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนักการศึกษาให้ความหมาย การบูรณาการคือ การนำเอาศาสตร์สาขาวิชาต่างๆที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเข้ามาผสมผสานเข้าด้วยกันให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน มีความ สมบูรณ์ครบถ้วนในตัวเอง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใสการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน
        จากความหมายข้างต้นด้านนาฏศิลป์ จึงเป็นศิลปะแบบบูรณาการ คือมีส่วนประกอบของศิลปะหลายแขนงเช่น ดนตรี การแต่งกาย การแต่งหน้า ฉาก แสง สี เสียง ลีลาท่ารำ จังหวะในการร่ายรำ คำร้องหรือเนื้อร้องที่สื่อความหมายของการแสดง เอามารวมกันเรียกว่า องค์ประกอบนาฏศิลป์ไทย การแสดงนาฏศิลป์กับการบูรณาการศิลปะแขนงต่างๆ

        การแสดงนาฏศิลป์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นระบำ รำ ฟ้อน ละคร โขน การแสดงพื้นเมืองเป็นการแสดงที่มีความสวยงาม ตระการตา ดึงดูดผู้ชม ให้มีอารมณ์คล้อยตามบทบาทและความสวยงามของผู้แสดงและสิ่งที่ทำให้การแสดงนาฏศิลป์ไทย มีความน่าสนใจยิ่งขึ้นยังประกอบด้วย ศิลปะ แขนงต่าง ๆ ดังนี้

   1.) การแต่งกาย
         ลักษณะการแต่งกายของนาฏศิลป์ไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่น การแต่งกายของโขน ตัวพระ นาง ยักษ์ ลิง

        - การแต่งกายของการแสดง ของระบำ รำ ฟ้อน ก็เช่นเดียวกัน เช่น

         - การแต่งกายของละคร ที่มีลักษณะเฉพาะของรูปแบบละคร เช่น


 ลักษณะของการแต่งกายที่มีความแตกต่างกันนี้ เป็นการสร้างสรรค์ทางความคิดที่ผสมผสานงานจิตรกรรม การออกแบบเครื่องแต่งกาย ให้เห็นความงดงามของลวดลายบนเสื้อผ้า ลักษณะเฉพาะของการตัดเย็บ ที่ยืดหยุ่นของขนาดเสื้อผ้า โดยใช้การตัดเย็บกลึงด้วยเส้นด้าย เวลาสวมใส่จะ พอดีกับตัวผู้แสดง
 
2.) ฉาก
         เป็นส่วนประกอบของการแสดงนาฏศิลป์ที่ทำให้น่าสนใจ ทำให้ผู้ชมเข้าใจเหตุการณ์ในการแสดงได้ชัดเจน เกิดอรรถรสในการชมการแสดง ศิลปะของฉาก ถูกสร้างสรรค์ ด้วยงาน สถาปัตยกรรม เช่นฉาก ในการแสดงระบำสุโขทัย ในประเพณีเผาเทียนเล่นไฟที่จังหวัดสุโขทัย



           ฉากในการแสดงนาฏะดนตรีหรือลิเก ถูกสร้างสรรค์ งานจิตรกรรม ภาพวาดสีน้ำมัน  เป็นฉากเมือง  ท้องพระโรงในวัง และฉากป่า เป็นต้น  เพื่อเสริมสร้างอรรถรสให้กับผู้ชมให้เข้าใจเหตุการณ์ในท้องเรื่องได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น



       3.) สี แสง เสียง
          สี แสง เสียง หมายถึง  สีสันของเสื้อผ้า     ชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทย      ซึ่งต้องมีความเหมาะสมกับเอกลักษณ์ของผู้แสดง แล้วยังถูกปรุงแต่ง ด้วยระบบแสงของไฟ ที่ส่องกระทบ ทำให้เกิดความสว่างสดใสงดงาม น่าดูยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากระบบเวที ผู้กำกับเวที จะใช้แสงเป็นตัวช่วย ในการแสดงให้เกิดความสมจริงยิ่งขึ้น และยังเป็นเทคนิคผสมผสานกับเสียงที่ให้อารมณ์ความรู้สึกให้คล้อยตามกับการแสดง เช่น เสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงพูดที่ดังมาจากที่ไกลๆหรือเสียงเพลงดนตรีบรรเลงประกอบ จะต้องใช้ศิลปะในการนำเสนอเพื่อให้ผู้ชม เข้าใจในเนื้อเรื่องและเกิดความเข้าใจ ความประทับใจในการแสดงเป็นอย่างยิ่ง

       4.) อุปกรณ์การแสดง
          อุปกรณ์การแสดงเป็นงานศิลปะที่นำมาประกอบการแสดงนาฏศิลป์ไทยหลายรูปแบบ เป็นอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์ขึ้น เช่น พัด อาวุธ เครื่องจักสาน ซึ่งต้องเกิดจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ประณีตงดงาม เช่น


3. การเชื่อมโยงความรู้ระหว่างนาฏศิลป์กับสาระการเรียนรู้ต่างๆ
          ในเรื่องของการเชื่อมโยงความรู้ เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรอบรู้ โดยใช้ทักษะการคิด วิเคราะห์ เช่น เมื่อนักเรียนชมชุดการแสดงนาฏศิลป์หรือในการชมการแสดงละครไทย นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง นอกจากความบันเทิง หรือเมื่อนักเรียนได้ฝึกหัดนาฏศิลป์ นักเรียนได้ประโยชน์และได้รับความรู้ในเรื่องใด ที่เกี่ยวกับรายวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ เช่น

          1. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
           นักเรียนที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ จะต้องรู้จักสังเกต การกำหนดจังหวะ ของบทเพลงที่ฝึกหัดการกำหนดแถว การเว้นระยะระหว่างแถว การคำนวณ พื้นที่บนเวที เพื่อความเหมาะสมสวยงาม ให้จัดฉากละคร การกำหนดจุดยืนของผู้แสดง หรือแม้แต่การคำนวณเรื่องการจัดต้นทุน รายรับ รายจ่าย ในการจัดการแสดง จากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้เรื่องนาฏศิลป์และการละคร จะต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้ามาร่วมด้วย เพื่อความสมบูรณ์แบบในการนำเสนอ
          2. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

         เนื้อหาของรายวิชาภาษาไทย ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับภา และวรรณคดี เช่นเดียวกับวิชานาฏศิลป์ และการละครที่ได้นำ วรรณคดีไทย  และการ แต่งบทร้อยกรอง  มาประกอบการเรียนทั้งนาฏศิลป์และละครไทย การเรียนรู้วรรณคดีผ่านการแสดงนาฏศิลป์ และการละครนั้นนักเรียนจะได้รับ อรรถรสและสุนทรียภาพที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเรียนรู้ศาสตร์ทั้งสองอย่างไปด้วยกัน เช่น

      3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
        การเรียนรู้เรื่อง แสง สี เสียง จากเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการแสดงนาฏศิลป์และการละคร เพราะอิทธิพลของแสง จะทำให้เกิดภาพที่มีสีสันที่สวยงาม ของเครื่องแต่งกายและการแต่งหน้าของผู้แสดง ตลอดจนเทคนิคของเสียงที่เหมาะสม ก็ช่วยส่งเสริมให้การแสดงมีความสมจริง เป็นการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราว เนื้อหา ที่สื่อผ่านผู้แสดงไปยังผู้ชม ซึ่งเป็นองค์ประกอบ ที่สำคัญ ที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้สอดคล้องกัน


     4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
       4.1 สาระศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม เป็นวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทย จึงมีการแสดงนาฏศิลป์เพื่อสื่อถึงความสำคัญของศาสนา การบูชา พระรัตนตรัย เช่น ระบำไตรรัตน์ รำแม่ศรีไตรสิกขา เป็นต้น

       4.2 สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม การแสดงนากศิลป์ส่วนใหญ่จะสะท้อน ประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ ในสังคมจะเห็นได้ชัดเจน เช่น ฟ้อนสาวไหม  แสดงวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองเหนือด้วยการ ทอผ้าไหมไทย การรำผีฟ้า เป็นการรำเพื่อรักษาโรค ของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเล่นเพลงเรือในประเพณีงานบุญ เป็นต้น
    4.3 สาระประวัติศาสตร์ การเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ผ่านชุดการแสดงนากศิลป์ไทยมีอยู่มากมายหลายชุดการแสดง เช่น ละคร อิงประวัติศาสตร์ เรื่อง อานุภาพพ่อขุนรามคำแหงละครเรื่องนางเสือง  การแสดงชุด  ชุมนุมเผ่าไทย ซึ่งการแสดงมีการถ่ายทอดสาระ ความเป็นมาของบุคคลสำคัญในชาติ การเสียสละ เลือดเนื้อเพื่อแผ่นดินของบรรพบุรุษไทย ในการรักษาแผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลาน เป็นต้น

     4.4 สาระภูมิศาสตร์  ภูมิศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับ ลักษณะทางกายภาพ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศในส่วนต่างๆของประเทศไทย เราสามารถเรียนรู้ผ่านชุดการแสดงนาฏศิลป์จากการสังเกตการแต่งกาย ของชุดการแสดงที่บ่งบอกลักษณะ ทางกายภาพได้ เช่น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีอากาศร้อน ชุดการแสดงของเซิ้ง  จะนุ่งผ้าซิ่น ยาวแค่เข่า แสดงให้เห็นว่ามีอากาศร้อน ทางภาคเหนือผู้แสดง จะนุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้า เนื่องมาจากทางภาคเหนือมีอากาศค่อนข้างเย็น ดังนี้ เป็นต้น


 5. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
      การเย็บปักถักร้อย งานผ้า งานออกแบบ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เคล็ดไม่ลับได้จากเสื้อผ้าของชุดการแสดงนาฏศิลป์ไทยที่มีความสวยงาม คงทนและการตัดเย็บที่ยืดหยุ่นไม่ตายตัว สามารถใช้ได้ยาวนาน เทคนิคการเก็บรักษาหลังการใช้ การนุ่งผ้าแบบต่างๆ จากผ้าผืนเดียวเป็นต้นแบบของ ดีไซน์เนอร์  ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ นอกจากนี้ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ก็มีความสำคัญ ที่ช่วยทำให้งานออกแบบชุดการแสดง การออกแบบเวที ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น


6. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
     ประโยชน์ของการเรียนนาฏศิลป์ไทยที่สำคัญมีอยู่อย่างหนึ่งคือ การร่ายรำที่ทำให้ได้ออกกำลังกาย เป็นการออกกำลังกายที่มีความสวยงาม ทุกส่วนของร่างกายได้เคลื่อนไหว การยกเท้า การกระดกเท้า การกรายมือ การตั้งวงร่ายรำ การเคลื่อนไหวร่างกาย [10] เคลื่อนที่ไป ถ้าฝึกปฏิบัติเป็นประจำ และรักษาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ งดเว้นจากสุรา ยาเสพติดทุกประเภทร่วมด้วย จะทำให้ผู้เรียนนากศิลป์ มีร่างกายและ สุขภาพที่แข็งแรง มีการทรงตัวที่ดี มีบุคลิกลักษณะที่สง่างาม ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าวิชานาฏศิลป์  ส่งเสริมด้านสุขภาพและพลานามัย เป็นอย่างดี มีความสอดคล้องในด้านการปฏิบัติ


7. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
      ในโอกาสที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี 2558 ภาษาต่างประเทศมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะภาษากลางคือภาษาอังกฤษ ผู้เรียนนาฏศิลป์ จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษและศึกษาคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการแสดง นาฏศิลป์ไทย เช่น Drama, Dance , Folk-Dance  เป็นต้น ซึ่งที่จะสามารถนำมาใช้ในการอธิบายชุดการแสดง ระหว่างผู้ชมที่เป็นชาวต่างชาติ ทำให้ชาวต่างชาติ มีความเข้าใจในการแสดงมากยิ่งขึ้น
        

8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
        กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะแบ่งเป็น 3 สาระการเรียนรู้ ดนตรี-นาฏศิลป์ และทัศนศิลป์ จะเห็นได้ว่าศิลปะทั้ง 3 สาระ มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ เชื่อมโยง จนไม่สามารถที่จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปได้ นากศิลป์จึงมีความสมบูรณ์ หมายความว่า นาฏศิลป์ต้องเกี่ยวข้องกับทั้งสองสาระการเรียนรู้ คือ ดนตรี และทัศนศิลป์ [11] จึงจะเห็นสุนทรียภาพที่สวยงาม ฉาก แสงสี ที่ตระการตา เป็นเอกลักษณ์ของนาฏศิลป์ไทย

No comments:

Post a Comment